L
A D I N G



Personal Data Protection Act (PDPA)
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ประกาศ HR ที่ 040 / 2565

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพิ่มขวัญมั่นคง บริษัทเฉลิมชัยชาญ จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว

        กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  เพิ่มขวัญมั่นคง  บริษัท เฉลิมชัยชาญ จำกัด (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”)เคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของพนักงาน

และอดีตพนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “สมาชิก”) และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสมาชิกได้รับความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

จึงได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผย (รวมเรียกว่า “การประมวลผล”) รวมตลอดถึงการลบ และทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกทั้งช่องทางออนไลน์ และช่องทางอื่น ๆ ตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด ดังนี้

 

1. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม  ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล


1.1 เพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของสมาชิกก่อนเข้าทำสัญญาหรือเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งสมาชิกเป็นคู่สัญญากับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เช่น การจัดทำทะเบียนสมาชิก การพิสูจน์ตัวตนและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับจากสมาชิก การสร้างบัญชีผู้ใช้งาน การยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้ระบบงาน และการปฏิบัติตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การติดตามและแจ้งผลประโยชน์ หรือที่เกี่ยวกับกองทุนภายใต้การจัดการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


1.2 เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตลอดจนกฎระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของผู้ที่มีอำนาจตามกฎหมาย รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


1.3 เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือของบุคคลอื่น เช่น การบริหารจัดการกองทุน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของกองทุน การบริหารด้านการเงินและงบประมาณ การติดต่อภายใน การติดต่อกับบุคคลภายนอก การดำเนินการต่าง ๆ ทางทะเบียน การมอบอำนาจ การจัดทำหนังสือรับรอง การจัดทำเอกสารเผยแพร่แก่สาธารณะ การจัดทำรายงาน การส่งข้อมูลให้หน่วยงานราชการ/หน่วยงานกำกับดูแล และการเข้าถึงระบบสารสนเทศ การตรวจสอบและจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนและการทุจริต คดีหรือข้อพิพาทต่าง ๆ


1.4 เพื่อป้องกันและระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของสมาชิกหรือบุคคลอื่น เช่น การติดต่อในกรณีฉุกเฉิน การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ


1.5 เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้


1.6 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามความยินยอมที่สมาชิกได้ให้ไว้ในแต่ละคราว

 

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม


2.1    ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป


(1)    ข้อมูลสำหรับการจัดทำทะเบียนสมาชิก เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ อายุงาน อัตราค่าจ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงานอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเป็นสมาชิก
(2)    ข้อมูลในการติดต่อกับสมาชิก เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล
(3)    ข้อมูลสำหรับการบริหารบัญชีกองทุนของสมาชิก เช่น อัตราเงินสะสม การเลือกนโยบายการลงทุน
(4)    ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ เช่น ชื่อ นามสกุล ความสัมพันธ์ เบอร์โทรศัพท์ ทั้งนี้ ก่อนการให้ข้อมูลกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้สมาชิกแจ้งนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ให้บุคคลดังกล่าวทราบด้วย
(5)    ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการรายงานหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
(6)    ข้อมูลทางการเงิน เช่น บัญชีธนาคาร ข้อมูลสำหรับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยภาษี
(7)    ข้อมูลการใช้งานและการเข้าถึงระบบสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ ระบบงาน เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ระบบโครงข่าย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบอีเมล เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(8)    ข้อมูลที่สมาชิกเลือกจะแบ่งปันและเปิดเผยผ่านระบบ แอปพลิเคชัน เครื่องมือ แบบสอบถาม แบบประเมินและเอกสารต่าง ๆ ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(9)    ข้อมูลที่รวบรวมจากการมีส่วนร่วมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  เช่น การเข้าร่วมการประชุม การเข้าร่วมกิจกรรม การตอบแบบสำรวจ การตอบแบบประเมิน รวมทั้ง รูปถ่ายและภาพเคลื่อนไหว
(10)  สำเนาเอกสารที่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของสมาชิก เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง เอกสารอื่น ๆ ที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐ ทะเบียนราษฎร์
(11)  ข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติตามสัญญาและข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และการปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ
ทั้งนี้  หากสมาชิกปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องใช้เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญาหรือเพื่อเข้าทำสัญญาแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจทำให้การปฏิบัติงานตามสัญญาและสิทธิในการเข้าถึงบริการที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดไว้ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์

 

2.2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน


(1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอาจมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนของสมาชิกเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่กองทุนสำรองเลี้ยง

ชีพแจ้งไว้ในนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้


(2) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอาจต้องประมวลผลข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ของสมาชิก ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า เพื่อใช้ในการระบุและยืนยันตัวตนของสมาชิก การป้องกันอาชญากรรม และการรักษาประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือของบุคคลอื่น


(3) ในกรณีที่จำเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนของสมาชิกโดยได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากสมาชิกหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ทั้งนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอเพื่อปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน


3. การใช้คุกกี้

        กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพิ่มขวัญมั่นคง บริษัท เฉลิมชัยชาญ จำกัด มีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่กำหนดไว้ใน นโยบายการใช้คุกกี้

ของบริษัท เฉลิมชัยชาญ จำกัด


4. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล


4.1 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกในระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามประเภทข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท เว้นแต่กฎหมายจะอนุญาตให้มีระยะเวลาการเก็บรักษาที่นานขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถระบุระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลได้ชัดเจน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ตามระยะเวลาที่อาจคาดหมายได้ตามมาตรฐานของการเก็บรวบรวม (เช่น อายุความตามกฎหมายทั่วไปสูงสุด 10 ปี)


4.2 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกไว้ตลอดระยะเวลาที่เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เพื่อปฏิบัติตามสัญญาและข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และตามระยะเวลาที่จำเป็น ทั้งนี้ ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่สิ้นสมาชิกสภาพ


4.3 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับผลประโยชน์ของสมาชิกไว้ตามระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้


4.4 กรณีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกโดยขอความยินยอมจากสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจนกว่าสมาชิกจะแจ้งขอยกเลิกความยินยอมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดำเนินการตามคำขอของสมาชิกเสร็จสิ้นแล้ว อย่างไรก็ดีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะยังเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกเท่าที่จำเป็นสำหรับ บันทึกเป็นประวัติว่าสมาชิกเคยยกเลิกความยินยอม เพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถตอบสนองต่อคำขอของสมาชิกในอนาคตได้


4.5 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาหรือที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกิน

ความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้น


5. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้บุคคลอื่น


5.1 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเปิดเผยและแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกกับบุคคลและนิติบุคคลอื่น (“บุคคลอื่น”) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ เช่น บริษัทจัดการที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมอบหมายให้เป็นผู้บริหารกองทุน หรือเป็นนายทะเบียนที่ดูแลและจัดการข้อมูลสมาชิก ผู้ให้บริการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ สถาบันการเงิน หน่วยงานของรัฐ และบุคคลอื่นที่จำเป็นเพื่อให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ใน

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้


5.2 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลมีมาตรการปกป้องข้อมูลของสมาชิกอย่างเหมาะสมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจโดยมิชอบ


6. การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ


6.1 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอาจเก็บข้อมูลของสมาชิกบนคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หรือคลาวด์ที่ให้บริการโดยบุคคลอื่นและอาจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันของบุคคลอื่นในรูปแบบ

ของการให้บริการซอฟท์แวร์สำเร็จรูปและรูปแบบของการให้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิก แต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะ

ไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ และจะกำหนดให้บุคคลอื่นเหล่านั้นต้องมีมาตรการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม


6.2 ในกรณีที่มีการส่งข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกไปยังต่างประเทศ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและใช้มาตรการ

ที่เหมาะสมเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกจะได้รับการคุ้มครองและสมาชิกสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกได้ตามกฎหมาย รวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลมีมาตรการปกป้องข้อมูลของสมาชิกอย่างเหมาะสมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจโดยมิชอบ


7. มาตรการความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
7.1 ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้นำมาตรฐานความ

ปลอดภัยทางเทคนิคและการบริหารที่เหมาะสมมาใช้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลจากการสูญหายการเข้าถึง การใช้หรือการเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต การใช้งานในทางที่ผิด การดัดแปลงเปลี่ยนแปลง และการทำลายโดยใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย เช่น การเข้ารหัสและการจำกัดการเข้าถึง เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกและบุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับความสำคัญของการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล


7.2 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative safeguard) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical safeguard) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (physical safeguard) เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เช่น การควบคุมการเข้าถึงหรือควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล (access control) การบริหารจัดการ การเข้าถึงของผู้ใช้งาน (user access management) นอกจากนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้จัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อ

เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม


8. สิทธิของสมาชิกในฐานะเจ้าของข้อมูล
        ในฐานะที่สมาชิกเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สมาชิกมีสิทธิตามที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ สมาชิกสามารถขอใช้สิทธิต่าง ๆ ของสมาชิกได้ตามช่องทางที่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กำหนดในข้อ 10. โดยจะสามารถเริ่มใช้สิทธิได้ เมื่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งสิทธิต่าง ๆ ของสมาชิกมีรายละเอียด ดังนี้      


8.1 สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (Right to Withdraw Consent)
ในกรณีที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพขอความยินยอมจากสมาชิก  สมาชิกมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

ที่สมาชิกได้ให้ความยินยอมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตลอดเวลา  เว้นแต่การเพิกถอนความยินยอมจะมีข้อจำกัดโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่สมาชิก หากสมาชิก

ถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลบางอย่าง อาจส่งผลให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุ

ประสงค์บางส่วนหรือทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ได้ ทั้งนี้ การเพิกถอนความยินยอมจะไม่ส่งผลกระทบต่อ การเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผย

หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่สมาชิกได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

8.2 สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Access)
สมาชิกมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลของสมาชิกซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงขอให้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวที่สมาชิกไม่ได้ให้ความยินยอมต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้


8.3 สิทธิในการขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล (Data Portability Right)
สมาชิกมีสิทธิขอให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพโอนข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกที่สมาชิกให้ไว้กับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้ตามที่กฎหมายกำหนด


8.4 สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Object)
สมาชิกมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวกับสมาชิกสำหรับกรณีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนได้ตามที่กฎหมายกำหนด


8.5 สิทธิในการขอลบข้อมูลส่วนบุคคล (Erasure Right)
สมาชิกมีสิทธิขอให้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลบข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจมีบางระบบที่ไม่สามารถลบข้อมูลได้ ในกรณีเช่นนั้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะจัดให้มีการทำลายหรือทำให้ข้อมูลดังกล่าวกลายเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของสมาชิกได้


8.6 สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Restrict Processing)
สมาชิกมีสิทธิขอให้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพระงับการใช้ข้อมูลของสมาชิกได้ตามที่กฎหมายกำหนด


8.7 สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (Rectification Right)
กรณีที่สมาชิกเห็นว่าข้อมูลที่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือสมาชิกมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกเอง สมาชิกมีสิทธิขอให้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด


8.8 สิทธิในการร้องเรียน (Right to Lodge a Complaint)
สมาชิกมีสิทธิในการร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้

 

9. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายฉบับนี้
        กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอาจแก้ไขปรับปรุงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้เป็นครั้งคราว และเมื่อมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

จะประกาศให้สมาชิกทราบผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท เฉลิมชัยชาญ จำกัด ซึ่งสมาชิกควรเข้ามาตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นครั้งคราว โดยนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ทันทีในวันที่ประกาศ   ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องขอความยินยอมจากสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

จะดำเนินการขอความยินยอมจากสมาชิกเพิ่มเติมด้วยสิทธิของสมาชิกในฐานะเจ้าของข้อมูล


10วิธีการติดต่อ
        ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิก การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลสมาชิก การใช้สิทธิ หรือมีข้อร้องเรียนใด ๆ สมาชิกสามารถติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพิ่มขวัญมั่นคง บริษัท เฉลิมชัยชาญ จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
สถานที่ติดต่อ     :    ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์    536,536/1 ถนนเอกชัย แขวงคลองบางพราน  เขตบางบอน  กรุงเทพฯ 10150
เบอร์โทรศัพท์    :     02-898-9050-69, 02-416-0155-9